SCG โดย CPAC Green Solution ผนึกศุภาลัยสร้างดี เปลี่ยนเศษคอนกรีตเหลือใช้จากการก่อสร้าง สร้างบ้านหลังใหม่ให้ปะการัง ผ่านโครงการ “รักษ์ทะเล”

คุณณรงค์ศักดิ์ ตันติธนกิจ (ขวาสุด) ผู้อำนวยการกิจการ ซีแพคภาคตะวันออก ผู้แทนจาก SCG – CPAC Green Solution พร้อมด้วย ศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ (ที่ 2 จากขวา) ประธานมูลนิธิ Earth Agenda ในนามโครงการ “รักษ์ทะเล”  และผู้บริหาร บมจ.ศุภาลัย คุณไตรเตชะ ตั้งมติธรรม (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ นายราชัย ปิยวาจานุสรณ์ (ซ้ายสุด) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ร่วมผนึกพลังสร้างดี คืนความอุดมสมบูรณ์แก่ทะเลไทย ผ่านโครงการ “รักษ์ทะเล” ด้วยการนำเศษคอนกรีตเหลือใช้ในไซต์งานก่อสร้าง จากการนำลูกปูนที่ใช้ในการทดสอบกำลังอัดคอนกรีตผ่านกระบวนการย่อยและคัดแยก นำมาเป็นส่วนผสมทดแทนหินปูนขึ้นรูปเป็น “บ้านปะการัง” ทำให้วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution นั้น มีรูปทรงที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ แข็งแรง ทนทาน และทำมาจากปูนซีเมนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ทำให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน โดยจะนำบ้านปะการังที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจในครั้งนี้ ไปวางในพื้นที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนปะการังและเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า ร่วมกับ SCG จัดกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” ปลูกฝังความรู้คู่การอนุรักษ์ท้องทะเลไทย @โรงเรียนชุมชนบ้านช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร โดย นายอดุลย์ รักษ์สกุลสงสัย นายกองค์กรบริหารส่วนตำบลแสมสารพร้อมด้วยคณะสัตวแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า และ SCG โดย รศ.สพญ.ดร. นันทริกา ชันซื่อ และ อ.สพญ.ดร.ฐนิดา เหตระกูล และทีมงาน SCG – CPAC Green Solution ร่วมจัดกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” เพื่อให้ความรู้และปลูกฝังให้น้องๆ เด็กนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 120 คน โรงเรียนชุมชนบ้านช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ให้มีความรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยปลูกจิตสำนึกฟื้นฟูปะการังให้คงความอุดมสมบูรณ์ ผ่านการให้ความรู้อนุรักษ์ปะการัง ผ่านฐานกิจกรรมต่างๆ อาทิ ประเภทของปะการัง, กิจกรรมคัดแยกขยะ, ใครฆ่าเต่าทะเล และชนิดของสัตว์ทะเล โดย นายภาคภูมิ ภูมิศาสตร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านช่องแสมสาร คณะครูและนักเรียน ให้การต้อนรับ

และในโอกาสเดียวกันนี้ SCG โดย CPAC Green Solution ได้นำนวัตกรรมบ้านปะการัง (วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง) จาก CPAC 3D Printing Solution มาจัดแสดงให้น้องๆ ได้รับชมของจริง และทำกิจกรรมหล่อแบบก้านปะการังภายในงานอีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมบ้านปะการังนี้ เหมาะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ ผลิตจากปูนซีเมนต์รักษ์โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ที่ช่วยในการฟื้นฟูทรัพยากรท้องทะเลไทยได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสร้างความสนุกสนานและได้รับความสนใจจากน้องๆ นักเรียนเป็นอย่างมาก และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมได้ทำการมอบประกาศนียบัตรแก่น้องๆ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรมดังกล่าวด้วย

SCG สนับสนุนส่งมอบบ้านปะการัง จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution ร่วมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

SCG โดย CPAC Green Solution ร่วมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน พ.ศ. 2566 สนับสนุนส่งมอบบ้านปะการัง จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution จำนวน 69 ชุด เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ของการดำเนินโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรและวางปะการังเทียม ณ เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2566 ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับความสำคัญของพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล และสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ เกาะแสมสารอีกด้วย โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นประธานในพิธี ซึ่งในโอกาสเดียวกันนี้ ได้มอบโล่ที่ระลึกเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้สนับสนุน โดยมี คุณสุขธวัช พัทธวรากร ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสังคม ตัวแทนจาก SCG เป็นผู้รับมอบ

สำหรับบ้านปะการัง SCG ร่วมสนับสนุนผ่าน “โครงการรักษ์ทะเล” ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิ Earth Agenda ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ SCG โดย CPAC Green Solution ในการนำเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution มาขึ้นรูปเป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูทรัพยากรทางท้องทะเลอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจคืนบ้านให้ปะการังกับ “โครงการรักษ์ทะเล” เพื่อนำไปผลิตบ้านปะการัง ((วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง) จากนวัตกรรม “CPAC 3D Printing Solution” เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรในท้องทะเลไทยอย่างยั่งยืน โดยสามารถโอนเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี 038-478430-0 ชื่อบัญชี มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า เพื่อโครงการรักษ์ทะเล

 

 

 

 

SCG โดย CPAC Green Solution ร่วมกับมูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า จัดกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” ปลูกจิตสำนึก ร่วมพิทักษ์รักษ์ท้องทะเลเกาะล้าน

SCG – CPAC โดยคุณสุขธวัช พัทธวรากร ผู้อำนวยการธรรมชาติและพันธกิจสังคม พร้อมด้วยคุณวรเทพ ดรรชนีกุล Stakeholder Relation and Network Management Manager ร่วมกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า โดย รศ.สพญ.ดร. นันทริกา ชันซื่อ, ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ อ.สพญ.ดร.ฐนิดา เหตระกูล จัดกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” เพื่อให้ความรู้และปลูกฝังให้น้องๆ เด็กนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 รวมกว่า 80 คน โรงเรียนเมืองพัทยา 10 (บ้านเกาะล้าน) อ.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ได้มีความรักษ์ปลูกจิตสำนึกช่วยกันอนุรักษ์แนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลและรักษาพื้นที่เกาะล้านให้มีความอุดมสมบูรณ์ ผ่านฐานกิจกรรมต่างๆ อาทิ ให้ความรู้ประเภทของปะการัง กิจกรรมคัดแยกขยะ ใครฆ่าเต่าทะเล และชนิดของสัตว์ทะเล

โดย CPAC Green Solution ได้นำนวัตกรรมบ้านปะการัง (วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง) จาก CPAC 3D Printing Solution มาจัดแสดงให้น้องๆ ได้รับชมของจริง และทำกิจกรรมหล่อแบบก้านปะการังภายในงานอีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมบ้านปะการังนี้ เหมาะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ ผลิตจากปูนซีเมนต์รักษ์โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ที่ช่วยในการฟื้นฟูทรัพยากรท้องทะเลไทยได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสร้างความสนุกสนานและได้รับความสนใจจากน้องๆ นักเรียนเป็นอย่างมาก และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมได้ทำการมอบประกาศนียบัตรแก่น้องๆ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรมดังกล่าวด้วย

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการ “โครงการรักษ์ทะเล”

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในการประชุมสามัญ ประจำปีงบประมาณ 2565 และแผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 ของมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยมีพลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จ ณ หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

จากนั้นเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการ “โครงการรักษ์ทะเล” โดยมูลนิธิ Earth Agenda ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเอสซีจี โดย CPAC Green Solution ในการนำนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution มาขึ้นรูปเป็นบ้านปะการัง (วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง) ผลิตจากปูนซีเมนต์งานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮดรอลิก คาร์บอนต่ำ ที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล ทั้งนี้ CPAC Green Solution เดินหน้าต่อยอดแนวคิดในการพัฒนาวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังอย่างต่อเนื่อง เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์ทะเล รวมทั้งพัฒนาเป็นแหล่งปะการังทดแทนสำหรับการท่องเที่ยว ลดการรบกวนปะการังธรรมชาติให้มากที่สุด โดยร่วมผลักดันการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศให้เห็นเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป

 

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจคืนบ้านให้ปะการังกับ “โครงการรักษ์ทะเล” เพื่อนำไปผลิตบ้านปะการัง ((วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง) จากนวัตกรรม “CPAC 3D Printing Solution” เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรในท้องทะเลไทยอย่างยั่งยืน โดยสามารถโอนเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี 038-478430-0 ชื่อบัญชี มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า เพื่อโครงการรักษ์ทะเล

เอสซีจี จับมือ กระทรวงทรัพย์ วางวัสดุฐานเกาะตัวอ่อนปะการัง คืนความสมบูรณ์ให้ท้องทะเลพังงา

ธุรกิจ Cement and Construction Solution ในเอสซีจี” ร่วมกับ “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” สนับสนุนวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Cement Printing ต่อยอด CPAC Solutions for Life มุ่งฟื้นฟูปะการังคืนความสมบูรณ์ให้ท้องทะเลไทยที่จังหวัดพังงา

ธุรกิจ Cement and Construction Solution ในเอสซีจี เข้าร่วมในพิธีส่งมอบวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังให้กับเครือข่ายชุมชนในพื้นที่อุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเล เขาหลัก จังหวัดพังงา จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ต่อยอดมาจากการลงนามความร่วมมือที่เอสซีจีได้มีส่วนร่วมในการคิดค้นและพัฒนาวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังด้วยนวัตกรรม 3D Printing Solution โดยมีนายชนะ ภูมี Vice President – Cement and Construction Solution Business ในเอสซีจี เป็นตัวแทนส่งมอบวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังให้กับนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังและคืนความสมบูรณ์ให้ท้องทะเลไทย ร่วมผลักดันการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศให้เห็นเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “จากรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จังหวัดพังงามีพื้นที่แนวปะการังประมาณ 26,126 ไร่ สภาพแนวปะการังส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย ทั้งจากกิจกรรมของมนุษย์และโดยธรรมชาติเอง จึงตั้งใจมาลงพื้นที่ที่เขาหลัก จังหวัดพังงา เพื่อสำรวจและติดตาม แหล่งปะการังธรรมชาติและจุดจัดวางปะการังเทียม คืนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศปะการังใต้ท้องทะเล หวังผลในการเพิ่มศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล โดยเฉพาะการเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำระดับโลก สร้างรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้ง เพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเล ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งต้องขอบคุณทุกภาคส่วนทั้งหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชนอย่างเอสซีจี และภาคประชาชนที่มาร่วมมือกันในการฟื้นฟูแนวปะการังในครั้งนี้ และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือในอนาคตต่อไป”

นายชนะ ภูมี Vice President – Cement and Construction Solution Business กล่าวว่า “เทคโนโลยี 3D Cement Printing ที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังในครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งใน “CPAC Solutions for Life” ที่ทาง CPAC Construction Solution มุ่งสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทย โดยได้นำเอาเทคโนโลยีขึ้นรูป 3D Cement Printing ร่วมกับการพัฒนาสูตรปูนซีเมนต์ให้เหมาะกับวิธีการขึ้นรูปวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังพัฒนาจนมีรูปทรงใกล้เคียงกับปะการังธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติใต้ท้องทะเลได้อย่างกลมกลืน เป็นมิตรและปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลอีกด้วย ซึ่งทาง CPAC Construction Solution จะยังคงต่อยอดแนวคิดในการพัฒนาวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังอย่างต่อเนื่อง เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์ทะเล และพัฒนาเป็นแหล่งปะการังทดแทนสำหรับการท่องเที่ยว ลดการรบกวนปะการังธรรมชาติให้มากที่สุด”